วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แนวทางการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา

มีผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและเทคโนโลยีการศึกษาหลายท่าได้เสนอแนวทางไว้ดังนี้
ลัมสเดน (Lumsdaine. 1963 : 669-671) ได้สรุปงานวิจัยที่ผ่านมาและเสนอแนวทางวินัยไว้ว่า จากงานวิจัยที่จะพัฒนาเทคโนโลยีทางวิธีสอน ซึ่งเกี่ยวข้องในด้านการสื่อเสาะการประดิษฐ์ และค้นพบทั้งในด้านเนื้อหาและวิธีการ นักจิตวิทยาจะเข้ามาเกี่ยวกันในบทบาท ที่สำคัญเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประหยัดในการสอน งานวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) เป็นสิ่งต้องการมากในการที่จะชี้ชัดและแยกแยะองค์ประกอบพื้นฐานต่าง ๆ ให้ดีก่อน รวมทั้งวิธีการด้วยและต้องพยายามศึกษางานอื่น ๆ ให้กว้างขวางมากที่สุด รวมทั้งต้องเป็นนักการสื่อสารร่วมกับนักวิจัยสาขา อื่น ๆ

อัลเลน (Allen. 1973 : 119) กล่าวถึงแนวทางการวิจัยสื่อในอนาคตว่า
1. ควรลดความพยายามที่จะพิสูจน์ถึงคุณค่าหรือคุณภาพของสื่อแต่ละชนิด แต่ความพยายามค้นหาทางเลือกในช่องทางสื่อ ซึ่งมีมากมายว่าทำอย่างไร จึงจะตรงตามจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
2. ผสมผสานในคุณลักษณะของการสอน กิจกรรมการเรียนรู้และสื่อซึ่งมีความแตกต่างกัน และอย่าพยายามใช้สื่อเดียวโดด ๆ (Single Medium)
3. ให้นำหลักการพื้นฐานต่าง ๆ (Fundamental Principles) มาขัดเกลาและทำให้สมบูรณ์ เพื่อประยุกต์ใช้หรือผลิตสื่อแต่ละชนิดต่อไป
4. การวิจัยเปรียบเทียบผลของสื่อในการสอน ดูเหมือนว่าจะเป็นการวิจัยที่เปล่าประโยชน์

ชาโลมอน (Salomom. 1978 : 45) กล่าวถึงแนวทางการวิจัยสื่อในด้านความแตกต่างที่มีปฏิสัมพันธ์ของคุณภาพสื่อไว้ว่า จากจุดเน้นของการวิจัยสื่อในอนาคตที่มองในด้านความแตกต่างที่มีปฏิสัมพันธ์กับตัวบุคคล สังคม และวัฒนธรรม โดยเริ่มตระหนักในด้านการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพในสิ่งที่แตกต่างกันแต่ละชนิด แต่ละปริมาณทำให้เราเข้าใจดีขึ้นในเรื่องของความซับซ้อน ความยากง่าย ความเด่นของสื่อแต่ละอย่างที่จะสามารถนำมาใช้ให้ประสบผลสำเร็จได้ในแต่ละผู้เรียน แต่ละเนื้อหา บางที่สิ่งสำคัญที่สุดในการวิจัยสื่อที่อาจเกิดขึ้น คือ การนำเอาจุดประสงค์พื้นฐานของระเบียบวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Research) เข้ามาอธิบายปรากฎการณ์ต่อที่เกิดขึ้น

คลาร์ค (Clark. 1983 : 24) กล่าวว่า การวิจัยในอนาคตจะต้องเน้นในจุดที่จำเป็นของลักษณะวิธีการสอนและตัวแปรต่าง ๆ ได้แก่ การวิเคราะห์งาน (Task) ความถนัดของผู้เรียน (Learner Aptitude) และคุณลักษณะเฉพาะของสื่อและผู้เรียน (Media and Learner Attributions) ซึ่งจะช่วยส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

เกอร์ลัค (Gerlach. 1984 : 24) ได้เสนอคำถามไว้ 3 ข้อ เป็นข้อควรคำนึงเพื่อไปสู่ทิศทางของการวิจัยทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าควรจะทำอย่างไร โดยเฉพาะในคำถามที่ 3

คำถามที่ 1” เรารู้อะไรกันบ้าง” (What do we know?)
1.1 เรารู้เล็กน้อยมาก รู้เพียงแต่ว่าสื่อบางอย่างทำงานได้มีประสิทธิภาพในบางเวลากับนักเรียนบางกลุ่ม ภายใต้สภาวะบางอย่าง
1.2 การเรียนรู้เป็นวิธีการไม่ใช่สื่อ
1.3 สถานภาพของสื่ออย่างดีที่สุดก็คือ ทำให้บรรยากาศในการเรียนแตกต่างกันออกไปและมีเลวที่สุดคือไม่ทำให้เกิดอะไรขึ้นเลย

คำถามที่ 2 “อะไรที่เราไม่รู้” (What don’t we know?)
2.1 อะไรคือเกณฑ์ที่จำแนกระหว่างความดีความเลวของงานวิจัย
2.2 เมื่อไหร่ที่เราควรจะใช้สื่อไหน
2.3 ผู้เรียนจะจัดระบบและแปลภาษาไทยอย่างไร
2.4 จะแปลผลงานวิจัยออกมาสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
2.5 อะไรคือองค์ประกอบของระบบที่จำเป็นในการพัฒนาการสอน
2.6 ผู้เรียนจะสามารถถูกสอนให้ควบคุมตนเองอย่างมีประสิทธิภาพได้หรือไม่
2.7 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) จะสามารถทำให้มีประสิทธิภาพได้หรือไม่
2.8 อะไรจะทำให้ระบบการดำเนินการได้ประสิทธิภาพ
2.9 มีกรอบด้านความคิดรวบยอดที่จะจัดโครงสร้างและเหตุผลสำหรับงานวิจัยในสาขานี้หรือไม่
2.10 จะใช้เวลาอีกนานไหมที่จะนึกคิดถึงคุณลักษณะเฉพาะของสื่อ

คำถามที่ 3 “เรากำลังจะไปสู่จุดใด” (Where do we go?)
3.1 จัดรูปแบบตัวแปรต่าง ๆ (เช่น ชนิด ประเภท ขนาด ระยะ เส้น ความยาว ฯลฯ) ในการเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.2 จัดลำดับเหตุการณ์ทางการสอนพร้อมผลที่ได้จากการเรียนและการสอน
3.3 วิธีการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research)
3.4 ประเด็นหรือแนวทางที่มีประสิทธิภาพ
3.5 วิธีระบบ (System Approach)

คลาร์คและชาโลมอน (Clark and Salomon. 1936 : 474-475) สรุปถึงการวิจัยสื่อไว้ดังนี้
1. มีการวิจัยเปรียบเทียบระหว่างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับวิธีการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ มากขึ้น และวิจัยผลของการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมที่เป็นเกมคอมพิวเตอร์
2. การวิจัยสื่อที่ผ่านมาไม่ได้แสดงอย่างเด่นชัดว่า สื่อไหนจะให้ผลต่อการเรียนรู้มากกว่ากัน
3. เทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งหลายดูเหมือนว่าจะสอนได้ดีกว่า เพราะมีการเตรียมมาดี และความใหม่มัดจะดึงดูดใจผู้เรียน
4. การวิจัยสื่อในอนาคต ควรจะมีคำอธิบายความหมายประกอบหรือการอ้างอิงของคำถามที่คล้ายคลึงกันในเรื่องของพุทธิพิสัยบ้าง
5. ในอนาคต ผู้วิจัยจะต้องไม่ศึกษาเพียงเพื่อตอบคำถามของสื่อชนิดเดียวว่าทำอย่างไร ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แต่ในการเรียนการสอนควรศึกษาว่าทำไม (Why) สื่อจึงจะใช้ได้ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น เราไม่สามารถตัดสินได้ว่า สื่อโทรทัศน์และสื่อคอมพิวเตอร์ประเภทไหนจะดีกว่ากันในระบบการศึกษา

อีลาย (Ely. 1987 : 77) กล่าวถึงข้อคิดและแนวโน้มการวิจัยในเรื่องดังต่อไปนี้
1. วิจัยในเรื่องการเรียนรายบุคคลมากขึ้นโดยยึดตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. วิจัยเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย มากกว่าโครงสร้างทางการสอนเน้นด้านสภาพ
การเรียนใหม่ๆ สภาพการเรียนที่สร้างสรรค์จากการสอนแบบเดิม ที่ครูยืนสอนคนเดียว มาสู่การใช้สถานการณ์จำลอง วิจัยการใช้สิ่งเร้า ฐานข้อมูล (Databases) และแหล่งประสบการณ์ที่จะนำไปสู่การศึกษาใหม่ๆ ให้รู้ว่าบุคคลจะเรียนอย่างไรให้เกิดความเข้าใจมากที่สุด
3. การศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) จะเริ่มเข้ามามีบทบาทโดยให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback Data) เข้าช่วยในการตัดสินใจต่างๆ
4. วิจัยเกี่ยวกับการวิจัยวัฒนธรรมข้ามชาติ (Cross-cultural Research) มากขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบตรวจสอบหลาย ๆ ประเทศ อันจะนำไปสู่ความยึดหยุ่นในการถ่ายทอดเทคโนโลยี
5. จำเป็นต้องใช้การวิจัยทางการศึกษา (Education Research) เพราะจะเป็นหลักยึดทั่วไป (General Guidelines) ในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อมาประยุกต์ใช้ต่อไป
6. การวิจัยเพื่อให้รู้ว่าทำไม (Why) ซึ่งแตกต่างกับช่างเทคนิคที่รู้แต่เพียงว่าจะทำอย่างไร (How) ในการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น นักวิชาชีพที่แท้จริงจะต้องรู้ทั้งอย่างไรและทำไม (How and Why)
ไรซ์ (Rice. 1987 : 2529) ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการวิจัยสื่อใหม่ๆ ไว้ว่าควรวิจัยด้านการสื่อสารมากกว่าวิจัยในสื่อใหม่ๆ โดยวิธีในแง่การใช้และผลกระทบในตัวมันเอง ควรวิจัยเพื่อนำเอาการวิจัยสื่อสารมวลชนหรือสื่อมวลชน (Mass Communication or Mass Media Research) เข้ามาใช้ทั้งในวงการศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยาศาสตร์ของการสื่อสาร (Communication Sciences) จะเข้ามาสู่ทั้งระดับเริ่มต้นและระดับท้ายสุดของเทคโนโลยี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น