วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563

Max-Min-Con Principle

Max-Min-Con Principle

            1. หลักการคือ การทำให้ความแปรปรวนของตัวแปรตามอันเป็นผลเนื่องมากจากตัวแปรต้น หรือตัวแปรที่สนใจมีค่า มากที่สุด (Maximize Systematic Variance) ทำได้โดยเลือกตัวแปรต้นให้มีความ แตกต่างกันให้ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น จะทดลองเปรียบเทียบวิธีการสอน วิธีการสอนทั้งสองนั้นจะต้องมีความ แตกต่างกันผู้วิจัยคาดหวังว่าจากการสอนด้วยวิธีสอนสองวิธีนั้น จะให้ผลแตกต่างกัน เหตุผลที่ต้อง พยายามท าให้ความแปรปรวนอันเป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรต้นมีค่ามากที่สุด  เพราะว่าจะทำให้ ผลสรุป ที่ได้มีความชัดเจน กล่าวคือ ถ้าพบความแตกต่างระหว่างตัวแปรตามจะสรุปได้ว่าเป็นผล เนื่องมาจากความแตกต่างระหว่างตัวแปรต้น นั่นเอง
           2. หลักการคือ การทำให้ความแปรปรวนของตัวแปรตามอันเป็นผลเนื่องมาจากความคลาดเคลื่อนต่าง ๆ มีค่าน้อยที่สุด (Minimize error Variance) ความคลาดเคลื่อนต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นจากความแตกต่าง ระหว่างบุคคล ความไม่คงที่ของสมาชิกในกลุ่มตัวอย่างแต่ละคน เช่น ใน การทดลองเกี่ยวกับวิธีการ สอนโดยใช้ครูคนเดียวกันในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ลดความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล การลดค่าความแปรปรวนที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนต่าง ๆ นั้นทำได้โดยจัดการ คุณภาพของเครื่องมือให้มีความตรง (Validity) และความเที่ยง (Reliability) ให้สูง และพยายาม เพิ่มความแม่นยำในการบันทึกรวบรวมข้อมูล  รวมไปถึงการเลือกกลุ่มตัวอย่างให้มีความไม่ต่างกัน

          3. ควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรตามอันเป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรเกินให้มีค่า ต่ำสุด (Control extraneous Systematic Variance) ซึ่งทำได้โดยพยายามควบคุมหรือกำจัด ตัวแปรเกิน ต่าง ๆ ออกไปจากงานวิจัยให้มากที่สุดเท่าที่จะท าได้

วิธีการ Snowball Technique การได้มาซึ่งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่น่าเชื่อถือ

               (Snowball Technique) เป็นวิธีการเลือกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่น่าเชื่อถือเพื่อตอบในประเด็นปัญหาการวิจัย โดยผู้วิจัยเลือกผู้เชี่ยวชาญที่ผู้วิจัยเห็นว่า มีความเชี่ยวชาญในประเด็นที่ผู้วิจัยจะศึกษาจริง ๆ มาก่อน 1 คน แล้วขอร้องให้ผู้เชี่ยวชาญท่านนั้นระบุรายชื่อผู้เชี่ยวชาญท่านต่อไป จากนั้นผู้วิจัยร้องขอให้ผู้เชี่ยวชาญท่านใหม่ระบุชื่อผู้เชี่ยวชาญท่านต่อไป จนกระทั่งครบจำนวนตามที่ผู้วิจัยต้องการ
               (ตอบคำถามของการได้มาซึ่งเครื่องมือ รวมไปถึงรูปแบบ (Model) ต่าง ๆ ของงานวิจัย)
โดยใช้การใช้วิธีนี้ กรรมการสอบคงไม่ท้วงติงใด ๆ ถ้าบอกได้มา เครื่องมือ ที่ได้มาได้มายังอย่างไร
มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด  

  ตัวอย่าง  เช่น เราต้องการผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่อง "จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) เป็นอย่างดีมีหนึ่งท่าน เช่น ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน แล้วให้ท่านกรุณา ระบุชื่อผู้เชี่ยวชาญท่านต่อไป จนกระทั่งครบจำนวนตามที่ผู้วิจัยต้องการ ตามข้อตกลงเบื้องต้นในการทำวิจัย

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

คำถามวิจัย

คำถามวิจัย คือ ข้อความที่เป็นประโยคคำถามซึ่งแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นคว้าหาคำตอบ ทั้งนี้คำถามการวิจัยควรเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ หรือไม่สามารถหาคำตอบได้จากตำรา หรือความรู้เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว
ปัญหาการวิจัย คือ ปัญหาที่เราต้องการใช้การวิจัยเพื่อแก้ไข
หัวข้อ คือ เรื่องหรือประเด็นที่เราต้องการจะทำวิจัย (มักจะอยู่ภายใต้ขอบเขตหรือวงวิชาที่เราสนใจ-กำลังศึกษาอยู่)

คำถามวิจัย ภายใต้หัวเรื่องที่เราสนใจใคร่รู้นั้น มีเรื่องอะไรบ้างที่เรายังไม่มีความรู้ และเราต้องการหาความรู้ในเรื่องนั้นๆ คำถามวิจัยมักจะเขียนในประโยคคำถาม เช่น how who what where แต่ก็อาจจะเขียนในรูปประโยคบอกเล่าได้ ซึ่งมักจะเรียกกันว่าเป็น ประเด็นวิจัย

เมื่อเราได้หัวข้อ และคำถามการวิจัยแล้ว ขั้นตอนไปเป็นการสร้าง concept ในการวิจัยด้วยการสังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง และกำหนดขอบเขตเชิงทฤษฎี (theoretical framework) เพื่อช่วยให้เราสร้างกรอบความคิดในการวิิจัย (conceptual framework) และกำหนดขอบเขตของการวิจัย (scope of study) ได้ชัดเจนต่อไป

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แนวทางการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา

มีผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและเทคโนโลยีการศึกษาหลายท่าได้เสนอแนวทางไว้ดังนี้
ลัมสเดน (Lumsdaine. 1963 : 669-671) ได้สรุปงานวิจัยที่ผ่านมาและเสนอแนวทางวินัยไว้ว่า จากงานวิจัยที่จะพัฒนาเทคโนโลยีทางวิธีสอน ซึ่งเกี่ยวข้องในด้านการสื่อเสาะการประดิษฐ์ และค้นพบทั้งในด้านเนื้อหาและวิธีการ นักจิตวิทยาจะเข้ามาเกี่ยวกันในบทบาท ที่สำคัญเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประหยัดในการสอน งานวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) เป็นสิ่งต้องการมากในการที่จะชี้ชัดและแยกแยะองค์ประกอบพื้นฐานต่าง ๆ ให้ดีก่อน รวมทั้งวิธีการด้วยและต้องพยายามศึกษางานอื่น ๆ ให้กว้างขวางมากที่สุด รวมทั้งต้องเป็นนักการสื่อสารร่วมกับนักวิจัยสาขา อื่น ๆ

อัลเลน (Allen. 1973 : 119) กล่าวถึงแนวทางการวิจัยสื่อในอนาคตว่า
1. ควรลดความพยายามที่จะพิสูจน์ถึงคุณค่าหรือคุณภาพของสื่อแต่ละชนิด แต่ความพยายามค้นหาทางเลือกในช่องทางสื่อ ซึ่งมีมากมายว่าทำอย่างไร จึงจะตรงตามจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
2. ผสมผสานในคุณลักษณะของการสอน กิจกรรมการเรียนรู้และสื่อซึ่งมีความแตกต่างกัน และอย่าพยายามใช้สื่อเดียวโดด ๆ (Single Medium)
3. ให้นำหลักการพื้นฐานต่าง ๆ (Fundamental Principles) มาขัดเกลาและทำให้สมบูรณ์ เพื่อประยุกต์ใช้หรือผลิตสื่อแต่ละชนิดต่อไป
4. การวิจัยเปรียบเทียบผลของสื่อในการสอน ดูเหมือนว่าจะเป็นการวิจัยที่เปล่าประโยชน์

ชาโลมอน (Salomom. 1978 : 45) กล่าวถึงแนวทางการวิจัยสื่อในด้านความแตกต่างที่มีปฏิสัมพันธ์ของคุณภาพสื่อไว้ว่า จากจุดเน้นของการวิจัยสื่อในอนาคตที่มองในด้านความแตกต่างที่มีปฏิสัมพันธ์กับตัวบุคคล สังคม และวัฒนธรรม โดยเริ่มตระหนักในด้านการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพในสิ่งที่แตกต่างกันแต่ละชนิด แต่ละปริมาณทำให้เราเข้าใจดีขึ้นในเรื่องของความซับซ้อน ความยากง่าย ความเด่นของสื่อแต่ละอย่างที่จะสามารถนำมาใช้ให้ประสบผลสำเร็จได้ในแต่ละผู้เรียน แต่ละเนื้อหา บางที่สิ่งสำคัญที่สุดในการวิจัยสื่อที่อาจเกิดขึ้น คือ การนำเอาจุดประสงค์พื้นฐานของระเบียบวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Research) เข้ามาอธิบายปรากฎการณ์ต่อที่เกิดขึ้น

คลาร์ค (Clark. 1983 : 24) กล่าวว่า การวิจัยในอนาคตจะต้องเน้นในจุดที่จำเป็นของลักษณะวิธีการสอนและตัวแปรต่าง ๆ ได้แก่ การวิเคราะห์งาน (Task) ความถนัดของผู้เรียน (Learner Aptitude) และคุณลักษณะเฉพาะของสื่อและผู้เรียน (Media and Learner Attributions) ซึ่งจะช่วยส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

เกอร์ลัค (Gerlach. 1984 : 24) ได้เสนอคำถามไว้ 3 ข้อ เป็นข้อควรคำนึงเพื่อไปสู่ทิศทางของการวิจัยทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าควรจะทำอย่างไร โดยเฉพาะในคำถามที่ 3

คำถามที่ 1” เรารู้อะไรกันบ้าง” (What do we know?)
1.1 เรารู้เล็กน้อยมาก รู้เพียงแต่ว่าสื่อบางอย่างทำงานได้มีประสิทธิภาพในบางเวลากับนักเรียนบางกลุ่ม ภายใต้สภาวะบางอย่าง
1.2 การเรียนรู้เป็นวิธีการไม่ใช่สื่อ
1.3 สถานภาพของสื่ออย่างดีที่สุดก็คือ ทำให้บรรยากาศในการเรียนแตกต่างกันออกไปและมีเลวที่สุดคือไม่ทำให้เกิดอะไรขึ้นเลย

คำถามที่ 2 “อะไรที่เราไม่รู้” (What don’t we know?)
2.1 อะไรคือเกณฑ์ที่จำแนกระหว่างความดีความเลวของงานวิจัย
2.2 เมื่อไหร่ที่เราควรจะใช้สื่อไหน
2.3 ผู้เรียนจะจัดระบบและแปลภาษาไทยอย่างไร
2.4 จะแปลผลงานวิจัยออกมาสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
2.5 อะไรคือองค์ประกอบของระบบที่จำเป็นในการพัฒนาการสอน
2.6 ผู้เรียนจะสามารถถูกสอนให้ควบคุมตนเองอย่างมีประสิทธิภาพได้หรือไม่
2.7 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) จะสามารถทำให้มีประสิทธิภาพได้หรือไม่
2.8 อะไรจะทำให้ระบบการดำเนินการได้ประสิทธิภาพ
2.9 มีกรอบด้านความคิดรวบยอดที่จะจัดโครงสร้างและเหตุผลสำหรับงานวิจัยในสาขานี้หรือไม่
2.10 จะใช้เวลาอีกนานไหมที่จะนึกคิดถึงคุณลักษณะเฉพาะของสื่อ

คำถามที่ 3 “เรากำลังจะไปสู่จุดใด” (Where do we go?)
3.1 จัดรูปแบบตัวแปรต่าง ๆ (เช่น ชนิด ประเภท ขนาด ระยะ เส้น ความยาว ฯลฯ) ในการเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.2 จัดลำดับเหตุการณ์ทางการสอนพร้อมผลที่ได้จากการเรียนและการสอน
3.3 วิธีการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research)
3.4 ประเด็นหรือแนวทางที่มีประสิทธิภาพ
3.5 วิธีระบบ (System Approach)

คลาร์คและชาโลมอน (Clark and Salomon. 1936 : 474-475) สรุปถึงการวิจัยสื่อไว้ดังนี้
1. มีการวิจัยเปรียบเทียบระหว่างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับวิธีการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ มากขึ้น และวิจัยผลของการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมที่เป็นเกมคอมพิวเตอร์
2. การวิจัยสื่อที่ผ่านมาไม่ได้แสดงอย่างเด่นชัดว่า สื่อไหนจะให้ผลต่อการเรียนรู้มากกว่ากัน
3. เทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งหลายดูเหมือนว่าจะสอนได้ดีกว่า เพราะมีการเตรียมมาดี และความใหม่มัดจะดึงดูดใจผู้เรียน
4. การวิจัยสื่อในอนาคต ควรจะมีคำอธิบายความหมายประกอบหรือการอ้างอิงของคำถามที่คล้ายคลึงกันในเรื่องของพุทธิพิสัยบ้าง
5. ในอนาคต ผู้วิจัยจะต้องไม่ศึกษาเพียงเพื่อตอบคำถามของสื่อชนิดเดียวว่าทำอย่างไร ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แต่ในการเรียนการสอนควรศึกษาว่าทำไม (Why) สื่อจึงจะใช้ได้ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น เราไม่สามารถตัดสินได้ว่า สื่อโทรทัศน์และสื่อคอมพิวเตอร์ประเภทไหนจะดีกว่ากันในระบบการศึกษา

อีลาย (Ely. 1987 : 77) กล่าวถึงข้อคิดและแนวโน้มการวิจัยในเรื่องดังต่อไปนี้
1. วิจัยในเรื่องการเรียนรายบุคคลมากขึ้นโดยยึดตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. วิจัยเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย มากกว่าโครงสร้างทางการสอนเน้นด้านสภาพ
การเรียนใหม่ๆ สภาพการเรียนที่สร้างสรรค์จากการสอนแบบเดิม ที่ครูยืนสอนคนเดียว มาสู่การใช้สถานการณ์จำลอง วิจัยการใช้สิ่งเร้า ฐานข้อมูล (Databases) และแหล่งประสบการณ์ที่จะนำไปสู่การศึกษาใหม่ๆ ให้รู้ว่าบุคคลจะเรียนอย่างไรให้เกิดความเข้าใจมากที่สุด
3. การศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) จะเริ่มเข้ามามีบทบาทโดยให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback Data) เข้าช่วยในการตัดสินใจต่างๆ
4. วิจัยเกี่ยวกับการวิจัยวัฒนธรรมข้ามชาติ (Cross-cultural Research) มากขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบตรวจสอบหลาย ๆ ประเทศ อันจะนำไปสู่ความยึดหยุ่นในการถ่ายทอดเทคโนโลยี
5. จำเป็นต้องใช้การวิจัยทางการศึกษา (Education Research) เพราะจะเป็นหลักยึดทั่วไป (General Guidelines) ในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อมาประยุกต์ใช้ต่อไป
6. การวิจัยเพื่อให้รู้ว่าทำไม (Why) ซึ่งแตกต่างกับช่างเทคนิคที่รู้แต่เพียงว่าจะทำอย่างไร (How) ในการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น นักวิชาชีพที่แท้จริงจะต้องรู้ทั้งอย่างไรและทำไม (How and Why)
ไรซ์ (Rice. 1987 : 2529) ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการวิจัยสื่อใหม่ๆ ไว้ว่าควรวิจัยด้านการสื่อสารมากกว่าวิจัยในสื่อใหม่ๆ โดยวิธีในแง่การใช้และผลกระทบในตัวมันเอง ควรวิจัยเพื่อนำเอาการวิจัยสื่อสารมวลชนหรือสื่อมวลชน (Mass Communication or Mass Media Research) เข้ามาใช้ทั้งในวงการศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยาศาสตร์ของการสื่อสาร (Communication Sciences) จะเข้ามาสู่ทั้งระดับเริ่มต้นและระดับท้ายสุดของเทคโนโลยี

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

คุรุสภาประกาศยกเลิกรับรองหลักสูตรป.บัณฑิต

"ดร.ดิเรก"ประกาศยกเลิกรับรองหลักสูตรป.บัณฑิต ย้ำไม่ให้สถาบันผลิตหลักสูตรป.บัณฑิตรุ่นใหม่อีก เหตุคุรุสภาควบคุมคุณภาพได้ยาก มีผลตั้งแต่บัดนี้
ดร.ดิเรก พรสีมา ประธานคณะกรรมการคุรุสภา กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการคุรุสภาว่า ที่ประชุมยังมีมติยกเลิกการให้การรับรองหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต(ป.บัณฑิต) โดยให้มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ดังนั้นสถาบันผลิตครูที่เคยส่งหลักสูตรมาให้การรับรอง และคุรุสภาให้การรับรองไปแล้ว ทางคุรุสภายกเลิกไม่ให้การรับรองต่อไป
แต่จะไม่กระทบต่อนักศึกษาหลักสูตรป.บัณฑิต ที่กำลังเรียนอยู่ในขณะนี้และยังไม่จบ แต่ไม่ให้สถาบันผลิตครูรับหลักสูตรป.บัณฑิตรุ่นใหม่อีก เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้มีผู้จบการศึกษาผู้มีใบอนุญาตฯพอแล้ว และคุรุสภาควบคุมคุณภาพสถาบันผลิตครูได้ลำบาก เพราะสถาบันผลิตครูบางแห่งบริหารหลักสูตรได้มีคุณภาพ แต่บางแห่งไม่บริหารหลักสูตรให้เป็นไปตามที่เสนอต่อคุรุสภา ทำให้หลายหน่วยงานบ่นเรื่องคุณภาพของหลักสูตรป.บัณฑิต อีกทั้งผลวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่าผู้เรียนหลักสูตรป.บัณฑิตคุณภาพต่ำกว่าผู้เรียนหลักสูตรครู 5 ปี
"ส่วนสถาบันอาชีวศึกษาหรือสถาบันการศึกษาอื่นๆที่จำเป็นต้องใช้ครูซึ่งไม่ได้จบด้านการศึกษาหรือสายช่าง ถ้าจำเป็นต้องอบรมเพื่อให้ได้ใบอนุญาตฯทางคุรสภาจะประสานงานกับหน่วยงานเหล่านั้นเพื่อประสานกับสถาบันผลิตครูเพื่อจัดอบรมเป็นรายสถาบันรายกรณีไป"ดร.ดิเรก ระบุ
รวมทั้งที่ประชุมยังมีมติยกเลิกหลักสูตรการฝึกอบรมตามมาตรฐานวิชาชีพครู เช่น ครูมี 9 มาตรฐาน ซึ่งการอบรมมาตรฐานละ 20 ชั่วโมง ก็มาขอใบอนุญาตฯแต่ไม่กระทบผู้ที่เรียนอยู่ในขณะนี้ แต่ไม่ให้สถาบันผลิตครูเปิดรับนักศึกษาใหม่ เพื่อควบคุมคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพครูสูงขึ้น สอดรับการปฏิรูปการศึกษารอบสองที่ต้องการพัฒนาคุณภาพครู
ที่ประชุมมีมติให้ปรับปรุงมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งปัจจุบันมาตรฐานวิชาชีพครูมี 9 มาตรฐาน ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์มี 10 มาตรฐาน จะเพิ่มมาตรฐานวิชาชีพเข้าไปอีก 1มาตรฐานในทุกกลุ่ม โดยเพิ่มมาตรฐานความรู้ในวิชาที่ครูจะสอน หากเป็นครูระดับปฐมวัยจะเพิ่มมาตรฐานความรู้เน้นจิตวิทยาสำหรับเด็ก การดูแลช่วยเหลือเด็ก การพัฒนาเด็กได้อย่างสมวัย ครูระดับประถมจะเพิ่มความรู้และเทคนิควิธีในกลุ่มสาระที่ครูต้องสอนในระดับประถมศึกษา ครูระดับมัธยมจะเพิ่มความรู้เนื้อหาวิชาทีครูจะไปสอน หากสอนวิชาเช่นฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ก็จะต้องมีความรู้ในวิชาเหล่านี้ จะต้องเพิ่มเข้าไปในมาตรฐานความรู้วิชาชีพ
ทั้งนี้ เมื่อปรับปรุงมาตรฐานความรู้วิชาชีพครู การให้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จะต้องเปลี่ยนไปจากเดิมซึ่งแต่เดิมครูมีใบอนุญาตฯใบเดียวสอนได้ทั้งระดับปฐมวัย ประถมและมัธยม หรือจะสอนวิชาต่างๆเช่น ฟิสิกส์ เคมีก็ได้ ดังนั้น ต่อไปการออกใบอนุญาตฯจะเปลี่ยนไปโดยจะแยกออกเป็นใบอนุญาตฯครูปฐมวัย ใบอนุญาตครูประถม ใบอนุญาตครูมัธยมโดยใบอนุญาตครูระดับม.ปลายจะแบ่งออกเป็นใบอนุญาตครูสอนวิชาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ส่วนครูอาชีวศึกษาจะแยกออกเป็นใบอนุญาตครูผู้สอนตามสาขาวิชาเช่น วิชาช่าง เกษตร บริหาร
"เมื่อสถาบันผลิตครูไปปรับปรุงได้ตามมาตรฐานแล้ว จะรับรองหลักสูตรของสถาบันผลิตครู แต่ไม่ได้หมายความว่าจะให้ใบอนุญาตแก่บัณฑิตที่เรียนจบหลักสูตรที่คุรุสภารับรอง ผู้ที่จะขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาตใหม่ ไม่ใช่ครูที่สอนอยู่แล้วจะต้องมาสอบข้อสอบของคุรุสภาโดยเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาชั้นปีที่ 3-5 ที่เรียนหลักสูตรคุรุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์หลักสูตร 5 ปีมาสอบ ซึ่งนิสิต นักศึกษาที่จะมาสอบเพื่อขอใบอนุญาตฯ จะต้องมาสอบขอใบอนุญาตในสาขาวิชาที่เรียน เช่น เรียนเป็นครูสอนวิชาฟิสิกส์ ก็ต้องมาสอบขอใบอนุญาตฯครูสอนวิชาฟิสิกส์ หากจะสอบขอใบอนุญาตฯวิชาอื่นเช่น เคมี ก็ต้องไปอบรมเพิ่มเติม ตามเกณฑ์คุรุสภาแล้วนำหลักฐานการอบรมมายื่นขอสอบ"ดร.ดิเรก กล่าว
ประธานคณะกรรมการคุรุสภา กล่าวว่า คุรุสภาจะแปลงคะแนนข้อสอบเป็นคะแนนมาตรฐาน หากได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการกำหนดเกณฑ์ บัณฑิตคนนั้นจะไม่ได้ใบอนุญาตฯ แต่สามารถมาสอบใหม่ได้โดยเบื้องต้นเท่าที่หารือกัน อาจจะให้สอบได้ปีละ 2-3 ครั้ง โดยใช้ปริญญาและคะแนนสอบมาขอใบอนุญาตกับคุรุสภาได้ คุรุสภาได้หารือกับสภาคณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ให้ปรับมาตรฐานความรู้วิชาชีพครูและหาหน่วยงานมาจัดทำข้อสอบและจัดระดับความยากง่ายโดยทำเป็นข้อสอบมาตรฐานและใส่ไว้ในคลังข้อสอบและใช้คอมพิวเตอร์บริหารข้อสอบ เนื่องจากจะเปิดสอบผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยตั้งเป้าว่าจะนำร่องการสอบในปี 2555 และตนจะเสนอคณะกรรมการคุรุสภาให้ใช้จริงอย่างช้าในปี 2557 เพราะหากเริ่มใช้ในปี 2554 เร็วเกินไป
ดร.ดิเรก กล่าวว่า ส่วนครูเก่าที่สอนอยู่ในปัจจุบันและมีใบอนุญาตฯอยู่แล้วซึ่งใบอนุญาตฯจะหมดอายุในเดือนธันวาคม 2557 และจะต้องมาขอต่อใบอนุญาตฯใหม่นั้น ที่ประชุมหารือกันแล้วเสียงแตกเพราะเกรงผลกระทบโดยเบื้องต้นมีการเสนอว่ายังไม่ควรให้ครูเก่าต้องสอบ แต่การให้ใบอนุญาตฯจะต้องมีการแบ่งใบอนุญาตฯเป็นระดับปฐมวัย ระดับประถม ระดับมัธยมซึ่งครูม.ต้นจะแบ่งครูสอนวิชาต่างๆเช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ส่วนครูม.ปลายแบ่งเป็นครูสอนวิชาต่างๆเช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา อย่างไรก็ตาม ครู 1 คนมีใบอนุญาตฯสอนได้หลายวิชาแต่ต้องมีความรู้ตามมาตรฐานที่คุรุสภากำหนดไว้
ครูเก่าจะต้องนำหลักฐานการอบรมความรู้เพิ่มเติมย้อนหลัง 3 ปีมายื่นขอใบอนุญาตฯ เช่น ครูที่จบสาขาพลศึกษาแต่สอนฟิสิกส์มา 5 ปีและมีใบอนุญาตฯอยู่แล้ว ก็ต้องอบรมเพิ่มเติมโดยเบื้องต้นเท่าที่หารือกันควรอบรมความรู้เพิ่มเติมในวิชานั้นๆ 15 ชั่วโมง หากคุณสมบัติไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะให้เวลาในการพัฒนาความรู้แล้วมายื่นขอใบอนุญาตฯใหม่ ส่วนครูในโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งครูคนเดียวสอนหลายวิชาและหลายระดับชั้นนั้นไม่มีปัญหาเพราะเป็นครูสอนระดับประถมใช้ใบอนุญาตฯครูระดับประถมเท่านั้น
"สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนแปลงการให้ใบอนุญาตฯเพราะปัจจุบันครูมีใบอนุญาตฯใบเดียว ไม่สามารถให้หลักประกันได้ว่าผู้รับบริการจากครูจะได้รับบริการที่ดี มีคุณภาพ จึงต้องแยกใบอนุญาตออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้ผู้รับบริการได้มั่นใจเช่น พ่อแม่ส่งลูกเข้าเรียนอนุบาลก็จะได้มั่นใจในคุณภาพครู "ดร.ดิเรก กล่าว
ดร.ดิเรก กล่าวว่า ขณะเดียวกันการให้ใบอนุญาตฯในกลุ่มนิสิต นักศึกษาครูโดยใช้วิธีสอบนั้นมีข้อดีโดยข้อสอบจะบอกถึงสมรรถนะคุณภาพของนิสิต นักศึกษา ช่วยยกระดับคุณภาพของคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ และเด็กสามารถเลือกได้ว่าจะเข้าเรียนที่ไหน ส่วนครูเก่านั้นก็เท่ากับเป็นการช่วยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปรับระบบบริหารงานบุคคลจัดครูผู้สอนให้ตรงกับความรู้ที่จบมา

ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/education/20100819/348792/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9B.%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%B4%E0%B8%95.html